ทองคำเปลว คืออะไร และ ปิดทองที่ไหนรุ่ง การปิดทองพระเป็นสิ่งที่ทำกันทั่วไป ทองคำที่เราปิดพระพุทธรูปเวลาเราไปทำบุญที่วัด เดี๋ยวนี้ยังมีวัดที่ให้ปิดทองพระอยู่บ้างแต่เหลือน้อยแล้วเพราะคนทำทองคำติดพระ หรือ ทองคำเปลวเหลือน้อยลง ทองคำเปลวที่เราได้รับแจกเมื่อซื้อดอกไม้ไหว้พระส่วนใหญ่ เป็นทองคำแผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ ที่อยู่ในกระดาษทรงสี่เหลี่ยมขนาดย่อม จะเป็นทองคำเทียม คือไม่ใช่ทองคำแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าแท้คงราคาแพงไม่น้อย วิธีทดสอบทองคำเปลวว่าแท้หรือเทียม ทำง่ายๆ คือ จุดไฟเผาได้เลยครับ ทองเทียมจะไหม้ดำทั้งแผ่น ส่วนถ้าทองแท้โดนไฟก็ยังเหลือเศษทองเล็กๆ ครับ
ชนิดทองคำเปลว
ผลิตภัณฑ์ทองคำเปลวที่ได้แบ่งเป็น 2 แบบ
1. ทองคำเปลวคัด หมายถึง แผ่นทองคำเปลวที่ได้จากกการตัดแผ่นทองคำลงบนกระดาษได้เต็มแผ่นในครั้งเดียว
2. ทองคำเปลวตัด แผ่นทองคำเปลวที่ได้จากกการนำแผ่นทองคำตั้งแต่ 2 แผ่น ขึ้นไปมาต่อเรียงกันให้เป็นแผ่นลงบนกระดาษ
หลาย ๆ คนก็เกิดความสงสัยกันว่า ทองคำเปลวนั้นใช่ทองจริงทองแท้หรือไม่ ทองคำเปลวแท้ที่จริงงแล้วทำมาจากอะไร
ทองคำเปลวที่เราได้เห็นกันนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการนำทองคำแท้ ๆ มาตีแผ่เป็นแผ่นบางมากนอกจากนำมาใช้ปิดองค์พระพุทธรูปแล้วก็ยังนำมาปิดทำข้าวของเครื่องใช้มีค่าที่ต้องการตกแต่งให้สวยงาม นำมาตกแต่งขนมไทย ๆ เช่นขนมจ่ามงกุฎด้วย ทองคำเปลวแท้นั้นมีหลายเกรด แต่เกรดที่ดีเยี่ยมจะเป็นทองคำเปลวที่ทำมาจากทอง 22 กะรัต ซึ่งเป็นทองคำ 99.99% และมีทองคำเปลวอีกชนิดเรียกกันว่าทองเขียว เป็นทองคำเกรดด้อยกว่าคือทองคำ 97% ประกายทองจะเป็นเหลืองออกเขียว ทองคำบริสุทธิ์เหล่านี้เมื่อนำมาทำเป็นทองคำเปลวก็จะมีวิธีการทำเป็น 2 อย่างซึ่งมีราคาต่างกันคือ
การใช้ประโยชน์แผ่นทองคำเปลว
ทองคำเปลวถูกนำมาใช้ประโยชน์หลักสำหรับการปิดทองทับองค์พระ วัตถุมงคล หรือสิ่งของที่เป็นมงคล หรือ สิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา หรือ ใช้ประดับเครื่องตกแต่งหรือยานพาหนะของพระมหากษัตริย์ อาทิ การปิดทองลูกนิมิต พระเครื่อง เรือพยุหยาตราทางชลมารค ผนังโบสถ์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสวยงาม ความศักดิ์สิทธิ์ และเกิดคุณค่าทางจิตใจทีเกิดขึ้นขณะทำการปิดทอง อาทิ เกิดสมาธิ และจิตใจสงบ และเกิดความสบายใจ เป็นต้น
นอกจากทองคำเปลวที่นำทองคำแท้บริสุทธิ์มาทำแล้ว ปัจจุบันด้วยมูลค่าของทองที่มีราคาแพงทำให้มีการคิดค้นทองคำเปลวแบบวิทยาศาสตร์ขึ้นใช้แทน ทองเปลววิทยาศาตร์จะทำจากสารคล้ายกับตะกั่วนำมาผสมกับสีมีลักษณะมองผิวเผินจะเหมือนกับทองคำเปลวแท้เพราะสีเหลืองสุกปลั่งเช่นเดียวกัน แต่หากสังเกตให้ดีจะมีความแตกต่างคือ ทองคำเปลวแท้จะมีประกายที่สวยสว่างกว่า เมื่อนำไปปิดองค์พระหรือวัสดุต่าง ๆ จะติดแน่นติดได้ง่ายกว่า อีกทั้งถ้าพิสูจน์ด้วยการกดลงที่นิ้วจะแตกตัวและติดอยู่กับผิวเราได้ง่าย ส่วนทองเปลววิทยาศาสตร์จะนำไปติดองค์พระหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ยากกว่า ต้องติดอย่างเบามือ เนื้อทองวิทยาศาสตร์ มีความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อกดลงที่นิ้วจะไม่แตกตัวง่ายอย่างทองเปลวจริง สำหรับทองเปลวที่เป็นทองแท้ เมื่อติดไปยังองค์พระจนมีความหนามาก ๆ บางวัดจะลอกทองนั้นออกมาและนำไปหลอมเป็นทองก้อนและขายเพื่อนำเงินมาบำรุงวัดได้ วัดบางแห่งมีขายเฉพาะทองเปลวแท้ แต่วัดบางวันก็มีทั้งสองอย่างขายผสมกันไป ทองเปลวที่เป็นทองแท้ยังนำมาใช้ในวงการแพทย์และใช้ในด้านความงามเช่นนำมาเป็นส่วนผสมบำรุงผิวอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก ที่นี่
วิธี และขั้นตอนการผลิตทองคำเปลว
1. การเตรียมแผ่นทองคำที่รีดไว้แล้ว
ทองคำที่ใช้สำหรับการผลิตแผ่นทองคำเปลวนิยมนำทองคำที่หาซื้อได้ตามร้านทองทั่วไป ซึ่งนิยมใช้ทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% และ99.99% แต่ที่ถูกใช้มากจะเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% เพราะต้นทุนถูกที่สุด และมีความแตกต่างกับทองคำบริสุทธิ์ 99.99% น้อยมากด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ พบว่า ทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% จะถูกนำเข้ามาจากประเทศฮ่องกงเป็นส่วนใหญ่ ทองคำบริสุทธิ์ที่ 99.99% จะถูกนำเข้ามาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นส่วนใหญ่ โดยทองคำที่นำมาใช้จะอยู่ในรูปทองคำแท่ง ก่อนจะถูกรีดร้อนออกมาในรูปทองคำแผ่นที่มีลักษณะบางๆที่มีความหนาประมาณ 4-5 ไมครอน อีกครั้ง
2. การตัด และทุบแผ่นทองคำ
เมื่อได้ทองคำแผ่นที่ซื้อมาแล้ว จากนั้น จะนำแผ่นทองคำมาตัดเป็นชิ้นๆ ชิ้นละขนาด 1×1 เซนติเมตร แล้วนำชิ้นทองคำที่ได้มาจัดเรียงใส่กระดาษแก้ว (เป็นกระดาษแก้วที่ทนความร้อน) โดยนำแผ่นทองคำมาวางเรียงซ้อนกันจำนวนหลายแผ่นหรือหลายชั้น ทั้งนี้ การจัดวางแผ่นทองคำหรือการวางเรียงซ้อนกันจะต้องจัดเรียงให้แผ่นทองคำทุกแผ่นอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งด้านกว้าง และด้านยาว จากนั้น นำแผ่นทองคำที่จัดเรียงแล้วมาใส่ซองหนังสัตว์หุ้มรัด (หนังวัวหรือชนิดอื่นๆ) เพื่อทำการทุบแผ่นทองคำต่อไป
3. การนำทองคำที่จัดเตรียมไว้ใส่กุบ (เตรียมสำหรับตีทุบ)
ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการนำแผ่นทองคำที่จัดเรียงไว้ในแผ่นกระดาษมาใส่ในซองหนังสัตว์หุ้มรัด (หนังวัวหรือชนิดอื่นๆ) จากนั้น นำแผ่นไม้ไผ่หรือแผ่นไม้อื่นๆมามาสอดด้านข้าง เพื่อป้องกันการเลื่อนของแผ่นทองคำ ก่อนนำวางลงแท่นเหล็กเพื่อตีทุบแผ่นทองคำ
4. การตีกุบ หรือ การตีทุบแผ่นทองคำให้ขยายตัว
การตีกุบหรือตีทุบแผ่นทองคำในหนังสัตว์จะใช้ค้อนทองเหลืองขนาดใหญ่ตีทุบ มีระยะเวลาในการตีทุบ หรือที่เรียกว่าการตีกุบ ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แผ่นทองคำในกุบขยายตัว และเกิดความบางมากที่สุด ทั้งนี้ การตีแผ่นทองคำในกุบจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตีในฝัก (ขั้นตอนต่อไป) เพราะทองคำในกุบจะมีขนาดใหญ่กว่า ซึงต้องใช้เวลานานกว่าจะตีเป็นแผ่นได้ตามขนาด และที่สำคัญต้องใช้เวลานาน กว่าจะตีเป็นแผ่นให้ได้ขนาดความหนาบางที่ใกล้เคียงกันทั่วแผ่น ซึ่งขณะการตีทุบในกุบจะมีการกลับหน้าค้อนเป็นระยะ เพื่อให้มีความราบเรียบสม่ำเสมอกันทั่วแผ่น
5. การเปลี่ยนแผ่นทองคำจากกุบลงในฝัก
เมื่อทำการตีแผ่นทองคำในกุบจนได้ความบางในระดับหนึ่งแล้ว จากนั้น จะทำการเปลี่ยนแผ่นทองคำมาถ่ายใส่ฝักเพื่อตีทุบต่อให้บางมากขึ้น โดยกระดาษที่ใช้รองจะเป็นกระดาษชนิดเดียวกัน แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ในตอนแรก คือที่ขนาด 15 x 15 เซนติเมตร เมื่อถ่ายลงกระดาษจนครบแล้วจึงนำค่อยนำใส่ห่อซองหนังเพื่อทุบต่อไป
6. ตีทุบแผ่นทองคำในฝักให้บางจนได้ขนาด
เมื่อเปลี่ยนแผ่นทองคำลงในฝักแล้วเสร็จ จากนั้น เริ่มการตีทุบต่อเนื่อง ซึ่งใช้เวลาตีทุบอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง การตีทุบฝักนั้น จะต้องตีอย่างต่อเนื่อง และตีทุบให้ทั่วฝัก เพื่อให้แผ่นทองคำเกิดความร้อนได้ทั่วฝัก ช่วยให้แผ่นทองคำขยายตัว และบางลงได้ง่ายขณะทุบตี โดยในระหว่างนี้ จะเปลี่ยนการพักได้บ้าง 5-10 จากนั้น ให้รีบตีทุบอย่างต่อเนื่อง เพราะหากพักนานหรือพักปล่อยจะทำให้แผ่นทองคำเย็น ทำให้การตีทุบยากมากขึ้นและจะมีการกับหน้าฝัก และมุมฝักในทุกๆ 5 นาที
ขั้นตอนการตีในฝักถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนที่จะทำให้แผ่นทองคำบางจนได้ขนาด การทำให้ได้ความบางนี้จะต้องใช้เวลาการตีทุบนาน และตีทุบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรพักหรือพักให้น้อยที่สุด ดังนั้น ผู้ตีทุบจะต้องมีความอดทนสูง รวมถึงต้องมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญสูง เพราะต้องอาศัยทักษะกาลงน้ำหนักค้อน และการรู้จักตำแหน่งตีทุบ รวมถึงทักษะด้านอื่นพอสมควร ซึ่งมักเป็นผู้มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป
7. การตัดแผ่นทองคำลงกระดาษ
การตัดแผ่นทองคำลงกระดาษถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตทองคำเปลว โดยขนาดแผ่นทองคำเปลวที่ต้องตัดจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ลูกค้ากำหนด อาจมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่แตกต่างกันในแต่ละการใช้งาน
ขอบคุณข้อมูลจาก ที่นี่
ได้ทองคำเปลวแล้วไปปิดทองกัน คติในการปิดทองให้ได้ผลดีมี 8-9 จุด ดังนี้
ปิดทองที่เศียรพระ ทำให้สติปัญญาความจำเป็นเลิศ มีความจำเป็นเลิศ การเรียนดี แก้ไขปัญหาชีวิตได้ฝ่าฝันอุปสรรคในชีวิตไปได้ดี
ปิดทองที่หน้าพระ ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานและชีวิตรุ่งเรือง
ปิดทองที่อกพระ เชื่อว่าทำให้มีสง่าราศีเป็นที่ถูกใจของผู้คน ชื่นชอบ มีเสน่ห์ เป็นที่รักใคร่ของผู้คน โดดเด่น ต้องตา ต้องใจ
ปิดทองที่ท้องพระ เชื่อว่าจะส่งผลให้ร่ำรวย มีกินมีใช้ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
ปิดทองที่สะดือ จะไม่เจอกับความอดอยากตลอดทั้งชีวิตจะไม่รู้จักคำว่าอดและสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สินเงินมีทอง
ปิดทองที่มือพระ ทำอะไรจะมีความสำเร็จ บริหารงานดี จะมีอำนาจ มีบารมีสูงส่งยกย่อง ผู้คนเคารพยำเกรง
ปิดทองที่เท้าพระ จะสมบูรณ์ไปด้วยที่พักอาศัยและพาหนะ มีความเป็นอยู่ที่ดี มั่งคั่ง
ปิดทองที่บริเวณหลังพระพุทธรูป จะมีผู้สนับสนุนค้ำจุน ผู้ใหญ่อุปถัมภ์สนับสนุน ทำงานเป็นหลักฐานมั่นคง
ปิดทองที่ฐานพระ จะช่วยส่งเสริมรากฐานชีวิตให้มั่นคง มีอาชีพหรือหน้าที่การงานให้มั่นคง
ขอบคุณที่มา คลิกที่นี่
Shopping Online
ABOUT COMPANY