ทองคำเปลว คืออะไร และ ปิดทองที่ไหนรุ่ง

ทองคำเปลว คืออะไร และ ปิดทองที่ไหนรุ่ง การปิดทองพระเป็นสิ่งที่ทำกันทั่วไป ทองคำที่เราปิดพระพุทธรูปเวลาเราไปทำบุญที่วัด เดี๋ยวนี้ยังมีวัดที่ให้ปิดทองพระอยู่บ้างแต่เหลือน้อยแล้วเพราะคนทำทองคำติดพระ หรือ ทองคำเปลวเหลือน้อยลง  ทองคำเปลวที่เราได้รับแจกเมื่อซื้อดอกไม้ไหว้พระส่วนใหญ่ เป็นทองคำแผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ ที่อยู่ในกระดาษทรงสี่เหลี่ยมขนาดย่อม จะเป็นทองคำเทียม คือไม่ใช่ทองคำแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าแท้คงราคาแพงไม่น้อย วิธีทดสอบทองคำเปลวว่าแท้หรือเทียม ทำง่ายๆ คือ จุดไฟเผาได้เลยครับ ทองเทียมจะไหม้ดำทั้งแผ่น ส่วนถ้าทองแท้โดนไฟก็ยังเหลือเศษทองเล็กๆ ครับ 

ชนิดทองคำเปลว
ผลิตภัณฑ์ทองคำเปลวที่ได้แบ่งเป็น 2 แบบ
1. ทองคำเปลวคัด หมายถึง แผ่นทองคำเปลวที่ได้จากกการตัดแผ่นทองคำลงบนกระดาษได้เต็มแผ่นในครั้งเดียว
2. ทองคำเปลวตัด แผ่นทองคำเปลวที่ได้จากกการนำแผ่นทองคำตั้งแต่ 2 แผ่น ขึ้นไปมาต่อเรียงกันให้เป็นแผ่นลงบนกระดาษ

หลาย ๆ คนก็เกิดความสงสัยกันว่า ทองคำเปลวนั้นใช่ทองจริงทองแท้หรือไม่ ทองคำเปลวแท้ที่จริงงแล้วทำมาจากอะไร

ทองคำเปลวที่เราได้เห็นกันนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการนำทองคำแท้ ๆ มาตีแผ่เป็นแผ่นบางมากนอกจากนำมาใช้ปิดองค์พระพุทธรูปแล้วก็ยังนำมาปิดทำข้าวของเครื่องใช้มีค่าที่ต้องการตกแต่งให้สวยงาม นำมาตกแต่งขนมไทย ๆ เช่นขนมจ่ามงกุฎด้วย ทองคำเปลวแท้นั้นมีหลายเกรด แต่เกรดที่ดีเยี่ยมจะเป็นทองคำเปลวที่ทำมาจากทอง 22 กะรัต ซึ่งเป็นทองคำ 99.99% และมีทองคำเปลวอีกชนิดเรียกกันว่าทองเขียว เป็นทองคำเกรดด้อยกว่าคือทองคำ 97% ประกายทองจะเป็นเหลืองออกเขียว ทองคำบริสุทธิ์เหล่านี้เมื่อนำมาทำเป็นทองคำเปลวก็จะมีวิธีการทำเป็น 2 อย่างซึ่งมีราคาต่างกันคือ

การใช้ประโยชน์แผ่นทองคำเปลว
ทองคำเปลวถูกนำมาใช้ประโยชน์หลักสำหรับการปิดทองทับองค์พระ วัตถุมงคล หรือสิ่งของที่เป็นมงคล หรือ สิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา หรือ ใช้ประดับเครื่องตกแต่งหรือยานพาหนะของพระมหากษัตริย์ อาทิ การปิดทองลูกนิมิต พระเครื่อง เรือพยุหยาตราทางชลมารค ผนังโบสถ์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสวยงาม ความศักดิ์สิทธิ์ และเกิดคุณค่าทางจิตใจทีเกิดขึ้นขณะทำการปิดทอง อาทิ เกิดสมาธิ และจิตใจสงบ และเกิดความสบายใจ เป็นต้น

นอกจากทองคำเปลวที่นำทองคำแท้บริสุทธิ์มาทำแล้ว ปัจจุบันด้วยมูลค่าของทองที่มีราคาแพงทำให้มีการคิดค้นทองคำเปลวแบบวิทยาศาสตร์ขึ้นใช้แทน ทองเปลววิทยาศาตร์จะทำจากสารคล้ายกับตะกั่วนำมาผสมกับสีมีลักษณะมองผิวเผินจะเหมือนกับทองคำเปลวแท้เพราะสีเหลืองสุกปลั่งเช่นเดียวกัน แต่หากสังเกตให้ดีจะมีความแตกต่างคือ ทองคำเปลวแท้จะมีประกายที่สวยสว่างกว่า เมื่อนำไปปิดองค์พระหรือวัสดุต่าง ๆ จะติดแน่นติดได้ง่ายกว่า อีกทั้งถ้าพิสูจน์ด้วยการกดลงที่นิ้วจะแตกตัวและติดอยู่กับผิวเราได้ง่าย ส่วนทองเปลววิทยาศาสตร์จะนำไปติดองค์พระหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ยากกว่า ต้องติดอย่างเบามือ เนื้อทองวิทยาศาสตร์ มีความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อกดลงที่นิ้วจะไม่แตกตัวง่ายอย่างทองเปลวจริง สำหรับทองเปลวที่เป็นทองแท้ เมื่อติดไปยังองค์พระจนมีความหนามาก ๆ บางวัดจะลอกทองนั้นออกมาและนำไปหลอมเป็นทองก้อนและขายเพื่อนำเงินมาบำรุงวัดได้ วัดบางแห่งมีขายเฉพาะทองเปลวแท้ แต่วัดบางวันก็มีทั้งสองอย่างขายผสมกันไป ทองเปลวที่เป็นทองแท้ยังนำมาใช้ในวงการแพทย์และใช้ในด้านความงามเช่นนำมาเป็นส่วนผสมบำรุงผิวอีกด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก ที่นี่

วิธี และขั้นตอนการผลิตทองคำเปลว

1. การเตรียมแผ่นทองคำที่รีดไว้แล้ว

ทองคำที่ใช้สำหรับการผลิตแผ่นทองคำเปลวนิยมนำทองคำที่หาซื้อได้ตามร้านทองทั่วไป ซึ่งนิยมใช้ทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% และ99.99% แต่ที่ถูกใช้มากจะเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% เพราะต้นทุนถูกที่สุด และมีความแตกต่างกับทองคำบริสุทธิ์ 99.99% น้อยมากด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ พบว่า ทองคำบริสุทธิ์ที่ 96.5% จะถูกนำเข้ามาจากประเทศฮ่องกงเป็นส่วนใหญ่ ทองคำบริสุทธิ์ที่ 99.99% จะถูกนำเข้ามาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นส่วนใหญ่ โดยทองคำที่นำมาใช้จะอยู่ในรูปทองคำแท่ง ก่อนจะถูกรีดร้อนออกมาในรูปทองคำแผ่นที่มีลักษณะบางๆที่มีความหนาประมาณ 4-5 ไมครอน อีกครั้ง

2. การตัด และทุบแผ่นทองคำ
เมื่อได้ทองคำแผ่นที่ซื้อมาแล้ว จากนั้น จะนำแผ่นทองคำมาตัดเป็นชิ้นๆ ชิ้นละขนาด 1×1 เซนติเมตร แล้วนำชิ้นทองคำที่ได้มาจัดเรียงใส่กระดาษแก้ว (เป็นกระดาษแก้วที่ทนความร้อน) โดยนำแผ่นทองคำมาวางเรียงซ้อนกันจำนวนหลายแผ่นหรือหลายชั้น ทั้งนี้ การจัดวางแผ่นทองคำหรือการวางเรียงซ้อนกันจะต้องจัดเรียงให้แผ่นทองคำทุกแผ่นอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งด้านกว้าง และด้านยาว จากนั้น นำแผ่นทองคำที่จัดเรียงแล้วมาใส่ซองหนังสัตว์หุ้มรัด (หนังวัวหรือชนิดอื่นๆ) เพื่อทำการทุบแผ่นทองคำต่อไป

3. การนำทองคำที่จัดเตรียมไว้ใส่กุบ (เตรียมสำหรับตีทุบ)
ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการนำแผ่นทองคำที่จัดเรียงไว้ในแผ่นกระดาษมาใส่ในซองหนังสัตว์หุ้มรัด (หนังวัวหรือชนิดอื่นๆ) จากนั้น นำแผ่นไม้ไผ่หรือแผ่นไม้อื่นๆมามาสอดด้านข้าง เพื่อป้องกันการเลื่อนของแผ่นทองคำ ก่อนนำวางลงแท่นเหล็กเพื่อตีทุบแผ่นทองคำ

4. การตีกุบ หรือ การตีทุบแผ่นทองคำให้ขยายตัว
การตีกุบหรือตีทุบแผ่นทองคำในหนังสัตว์จะใช้ค้อนทองเหลืองขนาดใหญ่ตีทุบ มีระยะเวลาในการตีทุบ หรือที่เรียกว่าการตีกุบ ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แผ่นทองคำในกุบขยายตัว และเกิดความบางมากที่สุด ทั้งนี้ การตีแผ่นทองคำในกุบจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตีในฝัก (ขั้นตอนต่อไป) เพราะทองคำในกุบจะมีขนาดใหญ่กว่า ซึงต้องใช้เวลานานกว่าจะตีเป็นแผ่นได้ตามขนาด และที่สำคัญต้องใช้เวลานาน กว่าจะตีเป็นแผ่นให้ได้ขนาดความหนาบางที่ใกล้เคียงกันทั่วแผ่น ซึ่งขณะการตีทุบในกุบจะมีการกลับหน้าค้อนเป็นระยะ เพื่อให้มีความราบเรียบสม่ำเสมอกันทั่วแผ่น

5. การเปลี่ยนแผ่นทองคำจากกุบลงในฝัก
เมื่อทำการตีแผ่นทองคำในกุบจนได้ความบางในระดับหนึ่งแล้ว จากนั้น จะทำการเปลี่ยนแผ่นทองคำมาถ่ายใส่ฝักเพื่อตีทุบต่อให้บางมากขึ้น โดยกระดาษที่ใช้รองจะเป็นกระดาษชนิดเดียวกัน แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ในตอนแรก คือที่ขนาด 15 x 15 เซนติเมตร เมื่อถ่ายลงกระดาษจนครบแล้วจึงนำค่อยนำใส่ห่อซองหนังเพื่อทุบต่อไป

6. ตีทุบแผ่นทองคำในฝักให้บางจนได้ขนาด
เมื่อเปลี่ยนแผ่นทองคำลงในฝักแล้วเสร็จ จากนั้น เริ่มการตีทุบต่อเนื่อง ซึ่งใช้เวลาตีทุบอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง การตีทุบฝักนั้น จะต้องตีอย่างต่อเนื่อง และตีทุบให้ทั่วฝัก เพื่อให้แผ่นทองคำเกิดความร้อนได้ทั่วฝัก ช่วยให้แผ่นทองคำขยายตัว และบางลงได้ง่ายขณะทุบตี โดยในระหว่างนี้ จะเปลี่ยนการพักได้บ้าง 5-10 จากนั้น ให้รีบตีทุบอย่างต่อเนื่อง เพราะหากพักนานหรือพักปล่อยจะทำให้แผ่นทองคำเย็น ทำให้การตีทุบยากมากขึ้นและจะมีการกับหน้าฝัก และมุมฝักในทุกๆ 5 นาที 

ขั้นตอนการตีในฝักถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนที่จะทำให้แผ่นทองคำบางจนได้ขนาด การทำให้ได้ความบางนี้จะต้องใช้เวลาการตีทุบนาน และตีทุบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรพักหรือพักให้น้อยที่สุด ดังนั้น ผู้ตีทุบจะต้องมีความอดทนสูง รวมถึงต้องมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญสูง เพราะต้องอาศัยทักษะกาลงน้ำหนักค้อน และการรู้จักตำแหน่งตีทุบ รวมถึงทักษะด้านอื่นพอสมควร ซึ่งมักเป็นผู้มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป

7. การตัดแผ่นทองคำลงกระดาษ
การตัดแผ่นทองคำลงกระดาษถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตทองคำเปลว โดยขนาดแผ่นทองคำเปลวที่ต้องตัดจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ลูกค้ากำหนด อาจมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่แตกต่างกันในแต่ละการใช้งาน

ขอบคุณข้อมูลจาก ที่นี่

ได้ทองคำเปลวแล้วไปปิดทองกัน คติในการปิดทองให้ได้ผลดีมี 8-9 จุด ดังนี้ 

ปิดทองที่เศียรพระ  ทำให้สติปัญญาความจำเป็นเลิศ มีความจำเป็นเลิศ การเรียนดี แก้ไขปัญหาชีวิตได้ฝ่าฝันอุปสรรคในชีวิตไปได้ดี

ปิดทองที่หน้าพระ ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานและชีวิตรุ่งเรือง

ปิดทองที่อกพระ เชื่อว่าทำให้มีสง่าราศีเป็นที่ถูกใจของผู้คน ชื่นชอบ มีเสน่ห์ เป็นที่รักใคร่ของผู้คน โดดเด่น ต้องตา ต้องใจ

ปิดทองที่ท้องพระ เชื่อว่าจะส่งผลให้ร่ำรวย มีกินมีใช้  อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง

ปิดทองที่สะดือ จะไม่เจอกับความอดอยากตลอดทั้งชีวิตจะไม่รู้จักคำว่าอดและสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สินเงินมีทอง

ปิดทองที่มือพระ ทำอะไรจะมีความสำเร็จ บริหารงานดี จะมีอำนาจ มีบารมีสูงส่งยกย่อง ผู้คนเคารพยำเกรง

ปิดทองที่เท้าพระ จะสมบูรณ์ไปด้วยที่พักอาศัยและพาหนะ มีความเป็นอยู่ที่ดี มั่งคั่ง

ปิดทองที่บริเวณหลังพระพุทธรูป จะมีผู้สนับสนุนค้ำจุน ผู้ใหญ่อุปถัมภ์สนับสนุน ทำงานเป็นหลักฐานมั่นคง 

ปิดทองที่ฐานพระ จะช่วยส่งเสริมรากฐานชีวิตให้มั่นคง มีอาชีพหรือหน้าที่การงานให้มั่นคง

ขอบคุณที่มา  คลิกที่นี่

 

 

Shopping Online

 

 

ABOUT COMPANY

Baan Chang Thong Group has the completed supply chain in gold industry. We have developed 24K Gold ornament market for leading high quality distribution and famed retailers.

We inherited professional technical skill and Thai culture heritage keeping intent from Phetburi goldsmith’s family.

 

จากตระกูลช่างทองเพชรบุรีที่สืบทอดเจตนารมย์กันมาถึง 3 ช่วงอายุคน จากประวัติอันยาวนานของการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายทองคำแบบโบราณและทองรูปพรรณ ประสบการณ์เหล่านั้น ก่อเกิด “บ้านช่างทอง” ดำเนินธุรกิจการตลาดร้านค้าขายส่งแบบสมัยใหม่ ย่านวังบูรพาและ “บ้านช่างทอง เยาวราช” ผู้บุกเบิกตลาดทองคำ 99.99% จนกลายเป็นผู้นำในการจำหน่าย ทองคุณภาพ และเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้จำหน่ายปลีก

 

CORPORATE OFFICE

บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด
855 ถนนมหาไชย แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร 02-623-7991

บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด
310 ถนนเยาวราช แขวงจักวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 02-622-5303
Line@: @Siamgoldgallery

BUSINESS HOURS

For further assistance, please contact us on business hours.

Mon-Sat: 10am to 5pm
Closed on Sunday