เปิดเรื่องน่ารู้ก่อนจะแจกทองคำให้พนักงาน!
หลายเรื่องน่ารู้ทำไมต้องแจกทองคำให้พนักงาน!
ในหลายๆบริษัท เมื่อได้ถึงเทศกาลสำคัญ เช่น ครบอายุการทำงานของพนักงาน , วันปีใหม่ , วันครบรอบบริษัท , ตรุษจีน หรือวันพิเศษต่างๆ ส่วนมากก็มักจะมีการมอบของให้เล็กๆ น้อยๆ ให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนคำขอบคุณ เป็นขวัญกำลังใจ ที่ได้ทำมางานหนัก และได้ร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือตอบแทนให้กับพนักงานที่อยู่กับบริษัทในระยะเวลาที่ยาวนาน หรือ แม้จะแจกแบบเซลล์ทำเป้ายอดขายได้ ที่นิยมแจกมันพบเจอบ่อยมากที่สุด รองจาก เงิน คือสินค้าที่มีมูลค่าอย่างทองคำ นั่นเองครับ การที่บริษัทคิดที่จะมอบให้พนักงานไม่ว่าจะเป็นทองแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ เช่น สร้อยคอ , แหวน , สร้อยข้อมือ , เข็มกลัด , กิมตุ้ง หรือ งานสั่งทำในรูปแบบตัวเอง เช่น จี้ เลเซอร์โลโก้ ของบริษัทตัวเอง หรือ แผ่นทองคำแท่ง บรรจุในรูปแบบต่างๆ เช่น การ์ดพลาสติก หรือ แผ่นทองแท่งเลเซอร์ในรูปแบบองค์กรตัวเอง ก็ช่วยเพิ่มให้พนักงานได้รับแล้วรูปสึกประทับใจมากยิ่งขึ้นได้
แต่เมื่อบริษัทคิดที่จะลงทุนซื้อแจก สินค้ามีมูลค่าอย่าง ทองคำ นำมาแจกให้แก่พนักงานเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจในการทำงานแล้ว ย่อมมีเรื่องของภาษีต่างๆ เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วภาษีอะไรบ้าง มาอ่านศึกษากันดูได้เลยครับ
- แจกทอง สามารถที่จะหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้
บางบริษัท จะมีนโยบายในการแจกทองให้กับพนักงาน ก็ควรนำมูลค่าของทองคำที่ซื้อมาแจกให้พนักงานในงานปีใหม่มาหักเป็นรายจ่ายได้ แต่การมอบทองหรือของรางวัลอื่นๆ จะต้องมีเงื่อนไขว่า ระบุในระเบียบสวัสดิการของพนักงาน โดยพนักงานทุกคนต้องได้รับโดยเท่าเทียมกัน หากทำได้แบบนี้จะได้ไม่มีประเด็นปัญหาถูกบวกกลับในภายหลัง เพราะถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการไม่ต้องห้ามในการคำนวณภาษี ระเบียบก็ต้องระบุ พนักงานทุกคนต้องมีสิทธิได้รับโดยทั่วถึงกันด้วยนะ เช่น หากอายุงานครบ 5 ปี ได้รับทองคำน้ำหนักทองเท่าไหร่ก็ว่าไป ถ้าพนักงานที่อายุงานครบทำงานมานาน ก็จะมีการกำหนดตามเงื่อนไขก็ต้องได้รับทองคำกันทุกๆคน หรือ หากเป็นการจับฉลากปีใหม่พนักงานทุกคนก็มีสิทธิได้ลุ้นกัน ต้องมีชื่อที่จะถูกจับฉลากลงด้วยแต่ได้หรือไม่ได้ก็ว่ากันไปแล้วแต่แต้มบุญของแต่ละคนได้เลยครับ
- แจกทอง ต้องภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ถึงแม้พนักงานที่ทำงานหนักมากับเราจะไม่ได้รับเงิน แต่พนักงานของเราได้รับทองคำที่แจกไป ก็สามารถคำนวณมูลค่าเป็นตัวเงินได้ และทองคำที่แจกให้พนักงานในเทศกาลงานปีใหม่เป็นรายจ่ายจากการทำงานให้บริษัท ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานได้อีกด้วย
เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
หลังจากยินดีมีความสุข สังคมถ่ายรูปๆ หลายๆภาพกันจนเสร็จสิ้นแล้ว ก็อย่าลืมนำมูลค่าทองคำที่แจกมารวมเป็นเงินได้ และนำไปหักภาษี ณ ที่จ่ายกันให้ครบถ้วนด้วยนะครับ. แต่ถ้าพนักงานมีเงินได้รวมทองคำแล้วเฉลี่ยไม่เกิน 26,000 บาท / เดือน ก็จะโชคดีไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากทองคำที่ได้รับไป เพราะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) คือหักอัตราก้าวหน้า ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีนั่นเอง ครับ
- พนักงานได้รับทองคำ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถึงแม้พนักงานที่ได้รับทองไปแล้ว จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายกันไปแล้วตามข้อที่2 ไปนั้น แต่ก็ใช่ว่าจะหมดหน้าที่ของคนไทยผู้ที่เสียภาษีไปแล้วนะครับ เพราะพนักงานผู้ที่ทำงานมาหนักตลอดเวลาหลายๆปีนั้น ที่ได้รับรางวัลไป ก็ต้องมูลค่าของรางวัลที่ได้มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเดือนมีนาคมปีถัดไปอีกด้วยนะครับ ปล.ต้องอย่าลืมนะครับ
ที่นี้พวกเรา ต้องแยกกันระหว่างค่าใช้จ่ายในการจัดงานปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารสุดอร่อย , ค่าเครื่องดื่มสุดพิเศษ , ค่าจัดการแสดงสุดอลังการ , ค่าเช่าสถานที่ต่างๆ , ค่าชุดการแสดง แม้จะเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานได้รับเหมือนกันแต่ค่าใช้จ่ายที่ได้พูดไป เป็นเงินได้จากการให้โดยเสน่ห์ หาตามขนบธรรมเนียมประเพณี ฉะนั้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาได้นะครับ
แต่ของรางวัลที่แจกให้พนักงาน หรือ รางวัลจากการจับฉลากชิงโชคชิงรางวัล ถือเป็นเงินได้นะครับ ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่ห์หา ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร อย่าลืมนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีด้วยนะครับ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อ มูลค่าของทองที่บริษัทฯ ซื้อมาเพื่อมอบให้กับพนักงานดีเด่น หรือให้พนักงานจับรางวัลในงานเลี้ยงพนักงานประจำปี ฯลฯ ภาษีซื้อดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายสวัสดิการพนักงาน เป็น
ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ
สามารถนำไปเป็นภาษีซื้อเพื่อหักภาษีขายได้
ถือเป็นภาษีซื้อไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
ภาษีขาย การมอบทองคำ หรือของขวัญให้แก่พนักงาน ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องมีภาระ “ภาษีขาย” โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
ต้องนำรายการดังกล่าวไปบันทึกรายงานภาษีขาย เพื่อรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในเดือนภาษีดังกล่าว
ภาษีขาย คำนวณจากมูลค่าต้นทุนที่ซื้อ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 40
ข้อ 2 (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข) บริษัท ข.จำกัด ประกอบกิจการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนยานพาหนะ บริษัทฯมีข้อบังคับและประกาศจ่ายรางวัลสำหรับพนักงาน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานติดต่อกันโดยไม่หยุดงาน เช่น ทำงานมา 5 ปี ได้ทองคำหนัก 2 บาท ทำงานมา 4 ปี ได้ทองคำหนัก 1 บาท
บริษัทฯมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของทองคำที่นำไปแจกเป็นรางวัล
ยืนยันว่า จะนำเฉพาะค่ากำเหน็จไปเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เหมือนร้านทองอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจไม่ได้ เพราะกฎนี้ เค้ายกให้กับ ผู้ประกอบการค้าทองตามกฎหมายเท่านั้นครับ
“(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย
ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน”
ขอบคุณข้อมูลที่มา คลิกที่นี่
สามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด
– แผนกลูกค้าองค์กร (B2B) : 02-6225303 กด 2 หรือ E-mail : b2b@bctgroup.net