ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการผลิต Physical Vapor Deposition และ Electroforming
ปัจจุบันการตกแต่งบ้านเป็นที่นิยมอย่างมาก และหัวใจสำคัญของการตกแต่งภายในบ้านมักจะเน้นเรื่องความสวยงาม รวมถึงความเป็นสิริมงคลเพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมโชคลาภและประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ดังนั้นแผ่นภาพหัตถศิลป์ทองคำ และงานประติมากรรมทองคำก็ถือรวมเป็นของมงคลที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตใจ และยังสามารถนำไปมอบให้เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษต่างๆ ได้อีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการผลิต Physical Vapor Deposition และ Electroforming นั้นค่อนข้างแตกต่างกัน และในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกระบวนการการผลิตสินค้าตกแต่งบ้านทั้ง 2 ประเภท โดยแผ่นภาพหัตถศิลป์ทองคำ จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า PVD (Physical Vapor Deposition) คือการนำเทคโนโลยีฟิล์มวางลงบนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า ตัวฟิล์มที่เคลือบลงบนพื้นผิวของเครื่องมือและวัสดุยังทนต่อการระเหยได้ดี ส่วนงานประติมากรรมทองคำจะใช้เทคนิค Electroforming คือกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีที่ใช้ในการสร้างชิ้นงานหรือเคลือบพื้นผิว โดยการนำโลหะไปเคลือบบนแม่พิมพ์ด้วยกระแสไฟฟ้า โดยข้างในชิ้นงานจะมีลักษณะกลวงและน้ำหนักเบา เช่น ตุ๊กตาปี่เซี๊ยะ รูปปั้นฮก ลก ซิ่ว ประติมากรรมทองคำรูปมังกร เป็นต้น

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วย PVD และ Electroforming นั้นส่วนใหญ่จะวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ด้วยวิธี XRF (X-ray Fluorescence) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุองค์ประกอบในชิ้นงาน ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งชนิดและปริมาณของธาตุ แต่ข้อจำกัดของเทคนิคนี้คือสามารถวิเคราะห์โลหะบนพื้นผิวชิ้นงานได้ไม่เกิน 15 ไมครอน (สำหรับทองคำ) ซึ่งหากนำมาตรวจด้วยเทคนิค XRF แล้วพบว่าได้ 99.99% นั้นก็เนื่องจากเป็นความบริสุทธิ์ของทองคำที่วิเคราะห์จากผิวชิ้นงานจากการทำ PVD ซึ่งเป็นค่าความบริสุทธิ์ของทองคำที่เคลือบไว้นั่นเอง ดังนั้นเราจะพบว่ามีปริมาณทองคำน้อยและบางมาก ต่างจากกรณีการทำ Electroforming ซึ่งเป็นการขึ้นรูปด้วยทองคำ 99.99% น้ำหนักของชิ้นงานที่ได้ก็คือน้ำหนักของทองคำนั่นเอง

เราจะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่างเทคนิคการผลิตชิ้นงานทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกัน ซึ่งงานที่ใช้เทคนิค PVD ด้วยทองคำ 99.99% นั้น ต้องใช้เทคโนโลยีและเทคนิคในการแปรรูปทองคำให้อยู่ในอนุภาคเล็กเพื่อให้สามารถพ่นเคลือบลงไปในวัสดุรูปต่าง ๆ ได้ จึงมีต้นทุนในการผลิต เช่นเดียวกันหากจะนำชิ้นงานมาแปรรูปกลับไปเป็นทองคำเช่นเดิมก็ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเช่นกัน
สุดท้ายนี้หากใครอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ติดตามผ่านช่องทาง สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) หรือ FACEBOOK ทางสถาบัน The Gem and Jewelry Institute of Thailand รวมถึงสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของเรา siamgoldgallery ได้เลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ องค์การมหาชน (GIT)
ABOUT COMPANY
BUSINESS HOURS
For further assistance, please contact us on business hours.
Mon-Sat: 10am to 4pm
Closed on Sunday