ไปซื้อทอง บ้านช่างทอง หนึ่งในผู้ผลิตทอง รูปพรรณ ที่ สคบ. ให้การรองรับมาตราฐาน

หนึ่งในผู้ผลิต ทองคำ รูปพรรณ ที่ สคบ.บ้านช่างทอง

ไปซื้อทอง บ้านช่างทอง สวัสดีครับ คุณลูกค้าทุกท่านทราบหรือไม่ครับว่า บ้านช่างทอง สามารถที่จะผลิตทองแล้วยังมีการที่จะเน้นในการตรวจสอบมาตรฐานในด้านคุณภาพที่ดีมากแห่งหนึ่งของไทยและน้ำหนักที่เป็นสากล เช่น คุณภาพการเชื่อมต่อทองคำ ความยาวและสัดส่วนความงามของทองคำและนอกจากเครื่องประดับแล้วเรายังมีคุณภาพและตามมาตฐานแล้ว ยังมีน้ำหนักตรงตามราคาอีกด้วยที่ บ้านช่างทอง เปิดแล้วพร้อมที่จะให้บริการคุณภาพแก่ลูกค้าด้วยราคาตามมาตรฐานอ้างอิงจากสมาคมผู้ค้าทองคำ เพื่อประสงค์ที่จะให้ลูกค้าได้รับแต่ความพึงพอใจและความมั่นใจสูงสุดที่ได้มาซื้อทองคำกับเรา

บ้านช่างทอง siamgoldgallery goldlery สคบ

ไปซื้อทอง วิธีการตรวจเช็ค ทองคำ ให้ได้มาตรฐาน ตามสมาคมค้าทองคำ

  1. เปอร์เซ็นต์ ทองคำ  ในประเทศไทยเราใช้เปอร์เซ็นต์ ทอง 99.99% ,96.5% ,90 % และ 18 K แต่ส่วนใหญ่ ใช้99.99% และ 96.5% สามารถสังเกตได้ที่ตัวสินค้าได้เลย  ถ้าเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือส่วนใหญ่ จะอยู่ตรงตะขอ
  2. โลโก้บริษัทผู้ผลิต (ค้าส่ง) สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ ที่เว็ปไซ ของสมาคมค้าทองคำ เพราะแต่ละบริษัทผู้ผลิตจะมีโลโก้ไม่เหมือนกัน ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ผลิตที่จดทะเบียนลงทะเบียน กับสมาคม ทั้งหมด 59 บริษัท (อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ปี 2561-2563)
  3. โลโก้โรงงานที่ผลิต หรือ ชื่อช่างผู้ผลิต ในการตอกโลโก้โรงงานผู้ผลิต หรือชื่อช่างผู้ผลิต จะสะดวกและง่ายต่อการขายคืน  การแก้ไขสินค้า (กรณีชำรุด) ระหว่างผู้สั่งผลิต และโรงงานผู้ผลิต หรือช่างผู้ผลิต
บ้านช่างทอง goldlery siamgoldgallery

ก่อตั้ง

ไปซื้อทอง จากตระกูลช่างทองเพชรบุรี ที่สืบทอดเจตนารมย์กันมาถึง 3 ช่วงอายุคน จากประวัติอันยาวนานของการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายทองคำแบบโบราณและทองรูปพรรณ ประสบการณ์เหล่านั้น ก่อเกิด “บ้านช่างทอง” ดำเนินธุรกิจการตลาดร้านค้าขายส่งแบบสมัยใหม่ ย่านวังบูรพาและ “บ้านช่างทอง เยาวราช” ผู้บุกเบิกตลาดทองคำ 99.99% จนกลายเป็นผู้นำในการจำหน่าย ทองคุณภาพ และเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้จำหน่ายปลีก

ABOUT COMPANY

Baan Chang Thong Group has the completed supply chain in gold industry. We have developed 24K Gold ornament market for leading high quality distribution and famed retailers.

We inherited professional technical skill and Thai culture heritage keeping intent from Phetburi goldsmith’s family.

ประวัติทองคำในประเทศไทย           
ประเทศไทย เคยเป็นที่รู้จักและเรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “สุวรรณภูมิ” แปลว่าแผ่นดินทอง     การที่ประเทศไทยได้ชื่อนี้อาจเนื่องมาจากความเป็นจริงของธรรมชาติตามหลักฐานที่กรมทรัพยากรธรณีมีอยู่   ซึ่งล้วนแต่มีการร่อนหาทองคำกันมาแต่โบราณ      ประเทศไทยครั้งนั้นคงมีทองคำอุดมสมบูรณ์มาก   นักเผชิญโชคชาวภารตะผู้นำอารยะธรรมของชมพูทวีปมาสู่กัมพูชา ในโบราณกาลจึงพากันเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “สุวรรณภูมิ”       แผ่นดินที่เรียกว่าสุวรรณภูมินี้มีอาณาเขตครอบคลุมพม่า ไทย ตลอดจนแหลม มาลายู      สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงประทานอรรถาธิบายไว้ในคำอธิบายหนังสือพระราชพงศาวดาร เล่มที่หนึ่ง (พ.ศ.2457) ว่าทรงเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า   “สุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ตั้งแต่เมืองมอญ ตลอดลงมาถึงแหลมมาลายู หรือบางทีอาจตลอดไปจนถึงเมืองญวน   โดยในครั้งกระโน้น ดินแดงนี้อาจเรียกว่าสุวรรณภูมิทั้งหมด”            ความผูกพันกันระหว่างโลหะทองคำกับคนไทยนั้น   มีมายาวนาน อาจย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรเชียงแสนเพราะมีหลักฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำซึ่งมีศิลปะแบบเชียงแสน ปรากฎอยู่   จากนั้น เมื่อไทยได้รับระบบสมมติเทวราชของขอมมาให้เป็นสถาบันบริหารสูงสุดของประเทศ ทองคำจึงถูกนำมาใช้ในการทำเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องราชูปโภคทั้งหลาย   ความมั่งคั่งในทองคำของไทยในอดีตอาจพิจารณาได้จากการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ เช่น   พระราชสาสน์นั้นเป็นการเขียน (จาร) ลงบนแผ่นทองคำที่เรียกว่าพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ที่ทำด้วยทองคำ เป็นต้น     นอกจากนี้เครื่องใช้และเครื่องประดับต่าง ๆ   ก็ยังนิยมใช้ทองคำด้วย    สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงการมีทองคำอยู่เป็นจำนวนมาก    ซึ่งเชื่อกันว่าที่มาของทองคำเหล่านี้ คือแหล่งทองที่เป็นเกล็ดปนอยู่ในทรายซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามลำธารของภาคเหนือและภาคอีสานตอนเหนือ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ได้ส่งทองคำไปเป็นเครื่องบรรณาการแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสถึง 46 หีบ และพระองค์ได้ให้เอกอัครราชทูตไทยที่ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีในครั้งนั้นว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญการทำเหมืองแร่ทองคำจากฝรั่งเศสมาด้วย  แร่ทองคำที่มีการผลิตหรือร่อนแร่กันในสมัยนั้น คือ แร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งมีการค้นพบและทำเหมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2283   และมีหลักฐานว่าในปี พ.ศ.2293 สามารถผลิตทองคำ ได้ทองคำหนัก 90 ชั่งเศษ หรือน้ำหนักประมาณ 109.5 กิโลกรัม ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเครื่องทองคำที่ควรกล่าวถึง เป็นเครื่องประดับสำหรับเกียรติยศซึ่งปรากฏในหลักฐานเอกสารต้นตำนานตรานพรัตน์ฯ เมื่อพระมหากษัตริย์บรมราชาภิเษกเสด็จประทับพระที่นั่งภัทรบิฐพราหมณ์ย่อมถวายพระสังวาลย์นพรัตน์นั้นสวมทรงก่อนจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นต้นมา ในรัชกาลที่ 4 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การขุดทองลดน้อยลงจนต้องหาซื้อนำเข้าจากต่างประเทศ การใช้ทองคำมีปรากฏในพระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับการทำเงินตราสยามเป็นเหรียญเงิน และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ทำเหรียญทองคำ ด้วยเช่นกันกระทั่งปี พ.ศ.2414   มีการค้นพบทองคำที่บ้านบ่อ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และได้มีการทำเหมืองด้วยวิธีการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในปี พ.ศ.2416 โดยพระปรีชากลการเจ้าเมืองปราจีนบุรี   แต่ปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2421 ต่อมาได้เปิดดำเนินการอีกครั้ง ในช่วงปี พ.ศ.2449 – 2459 แต่ไม่มีข้อมูลของการผลิตแต่อย่างใดจากนั้นจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศได้เข้าติดต่อค้าขายและมีการเสาะหาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีชาวอิตาเลียน ได้ขอทำการขุดทองที่บางตะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อกลับไปก็ไปเผยแพร่ว่าประเทศไทยนั้นอุดมด้วยแร่ทองคำเนื้อดี จึงทำให้ชาวต่างชาติหลายประเทศได้เข้ามาขออนุญาตขุดหาแร่ทองคำมากขึ้น ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  รัฐบาลได้ให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำแก่บริษัทจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสหลายแห่ง เช่น แหล่งโต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส แหล่งบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   แหล่งกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น แต่บริษัทต่างๆ เหล่านี้   ได้หยุดดำเนินการเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีบันทึกไว้ว่า บริษัท Societe des Mine d’Or de Litcho ของฝรั่งเศส   ได้ทำเหมืองแร่ทองคำที่แหล่งโต๊ะโมะ   จังหวัดนราธิวาส   ในระหว่างปี พ.ศ.2479 – 2483   ได้ทองคำหนักถึง 1,851.44 กิโลกรัม   ระหว่างปี พ.ศ.2493 – 2500   กรมโลหกิจ(กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) ได้ทำเหมืองทองคำที่บ้านบ่อ จังหวัดปราจีนบุรี   สามารถผลิตทองคำได้ถึง 54.67 กิโลกรัม  มรดกทางวัฒนธรรม ทองคำในประเทศไทย ทองคำนั้นมีปรากฏหลักฐานมานับแต่ยุคสุวรรณภูมิ ทวารวดี ยุคอิทธิพลเขมรโบราณจนถึง สุโขทัย อยุธยา แต่การพัฒนาการจนแพร่หลาย ผู้คนนิยมมีทองไว้ครอบครอง ในวงกว้าง มีขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากการที่ช่างทองเชื้อสายจีนได้เข้าร่วมเป็น “ช่างทองหลวง” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ได้ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเงินตราสยามเป็นเหรียญเงิน และเหรียญทอง อีกทั้งยังทรงกำหนดค่าอัตราการแลกเปลี่ยนทอง และกำหนดคุณภาพของทองคำเป็นเนื้อทองด้วย รูปภาพเหรียญทองตราสยาม  รูปแบบที่สืบทอดมาจากช่างทองเชื้อสายจีนและดัดแปลงรูปแบบโดยช่างชาวไทยนั้นคือ งานเครื่องทองสุโขทัย หรือ ทองโบราณ และทองเพชรบุรี ที่เด่นชัดได้แก่เครื่องประดับชุดปะวะหล่ำ ซึ่งดัดแปลงมาจากโคมจีนโดยความเชื่อว่า โคมไฟให้ความสว่างไสวเปรียบประดุจความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง มีลักษณะเด่นที่รูปทรงกระบอกโปร่งหกเหลี่ยม เป็นลวดลายที่แสดงลักษณะเฉพาะของงานเครื่องทองเพชรบุรี นอกจากนั้นงานแบบทองรูปพรรณ 96.5% ที่เป็น “ทองเยาวราช” (ตั้งชื่อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งจำหน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด) มีวิวัฒนาการมาจากช่างทองชาวจีน บนพื้นฐานของค่านิยมทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีสีเหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร กล่าวถึงเมืองเพชรบุรี เป็นเมืองหนึ่งที่มีช่างสิบหมู่ในราชสำนักได้มารวมตัวกัน ศิลปะชั้นสูงจากวังหลวงจึงมาสู่ช่างเมืองเพชร โดยช่างพื้นบ้านเพชรบุรีที่ได้ มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้ และนำไปถ่ายทอดฝีมือผ่านช่างแต่ละรุ่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เครื่องทองเมืองเพชรกลายเป็นศิลปหัตถกรรมล้ำค่าที่มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพราะเป็นงานพื้นบ้านที่ผสมผสานความงดงามของธรรมชาติ และประโยชน์ใช้สอยของทองไว้อย่างกลมกลืน จนทำให้ทองเพชรบุรีกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่ายิ่งของชาติ

บ้านช่างทอง - 3
CORPORATE OFFICE

ไปซื้อทอง ที่ บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด
855 ถนนมหาไชย แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร 02-623-7991
Line@: @Bct_gold

บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด
310 ถนนเยาวราช แขวงจักวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 02-622-5303
Line@: @Siamgoldgallery

For further assistance, please contact us on business hours.

Mon-Sat: 10am to 5pm
Closed on Sunday

บ้านช่างทอง - 4
บ้านช่างทอง – 4